การก่อตัวของฟิล์ม (Film) ที่เกิดขึ้น ณ ด้านใดด้านหนึ่งของพื้นผิวการถ่ายเทความร้อนจะมีกระทบต่อประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำไปสู่กระบวนการต่างๆ
ในกระบวนการผลิต ตะกรันที่เกิดจากการเกาะตัวติดกันของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ โดยที่ภายใต้ตะกรันก็จะมีชั้นของน้ำที่หยุดนิ่ง (Stagnant Layer) เมื่อเกิดความร้อน การถ่ายเทความร้อนผ่านชั้นต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้โดยการนำความร้อน (Conduction) ซึ่งจะไม่มีประสิทธิภาพมากนักเมื่อเทียบกับการถ่ายเทความร้อนด้วยการพาความร้อน (Convection) ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการหมุนเวียนภายในของเหลวที่มีจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นฟิล์มที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ด้านทำให้ประสิทธิภาพในการนำความร้อนลดลงกว่าการใช้พื้นผิวของโลหะในการถ่ายเทความร้อนในสภาวะอุดมคติฟิล์มเหล่านี้จะบางจนไม่มีความสำคัญมากนัก แต่ในสถานการณ์จริง (The Real World) ฟิล์มเหล่านี้จะเป็นตัวจำกัดอัตราของการถ่ายเทความร้อน
โดยทั่วไป การทำความสะอาดพื้นผิวของโลหะเป็นประจำจะช่วยควบคุมการเกิดตะกรันได้ สำหรับชั้นของน้ำหรือของเหลวที่หยุดนี่งนี้สามารถทำให้ลดลงได้ บ่อยครั้งที่ใช้เครื่องที่ทำให้เกิดการกวนหรือสั่นโดยอัตโนมัติเพื่อปัญหานี้จะทำให้เวลาในการทำความร้อนเร็วขี้นมาก
ในส่วนของไอน้ำก็จะมีฟิล์ม 3 ชนิด คือ ชั้นของฟิล์มที่เกิดการควบแน่น (Condensate Film Layer) อยู่ต่อจากชั้นของฟิล์มที่เกิดจากตะกรันบนผิวโลหะ (Scale Film Layer) และชั้นของฟิล์มที่เกิดจากอากาศ (Air Film Layer) ที่อยู่ด้านล่าง ฟิล์ม 3 ชนิดหลังเป็นตัวนำความร้อนที่มีประสิทธิภาพต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นผิวถ่ายเทความร้อนของโลหะ และในทางปฏิบัติฟิล์มเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่เป็นฉนวนน้ำจะมีความต้านทานการถ่ายเทความร้อนมากถึง 60 – 70 เท่าของเหล็ก แต่ถ้าเป็นอากาศก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่านั้น เพราะอาจจะมีความต้านทานมากขึ้นถึง 1,500 เท่า
แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของฟิล์ม ของน้ำและอากาศษเหล่านี้ที่มีต่อความต้านทานในการถ่ายเทความร้อน ความต้านทานที่มีต่อการถ่ายเทความร้อนจะเห็นได้จากการแสดงโดยเส้นความชันตามอุณหภูมิผ่านแผ่นฟิล์ม เส้นใดที่มีความชันมากก็แสดงให้เห็นว่ามีความต้านทานมาก ในตัวอย่างต้องใช้ไอน้ำถึง 1.03 บาร์ เพื่อให้ได้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 99 องศาเซลเซียส แต่ถ้าฟิล์มของอากาศที่อยู่ข้างไอน้ำสามารถลดลงได้ ก็จะใช้ไอน้ำเพียงที่ 0.7 บาร์เท่านั้น ก็จะสามารถทำให้น้ำร้อนได้ในอุณหภูมิเดียวกัน หรือถ้าเลือกที่จะให้ไอน้ำอยู่ที่ 1.03 บาร์ การใช้เวลาที่จะทำให้น้ำร้อนที่อุณหภูมิเดียวกันก็จะเร็วมากขึ้น ปัญหาก็คือทำอย่างไรถึงจะลดฟิล์มเหล่านี้ลงได้
การระบายอากาศที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อากาศจะเข้ามาสู่ระบบเมื่อปิดหม้อไอน้ำ และเมื่อไอน้ำยอมให้อากาศเข้ามา ไอน้ำก็จะผลักให้อากาศไปลอยตัวอยู่ส่วนบนของไอน้ำอากาศก็จะเกิดการสะสมที่จุดสูงของระบบและอุปกรณ์ หรือในพื้นที่ของไอน้ำที่มีอัตราความเร็วต่ำ ดังนั้นความต้องการก็คือการกำจัดอากาศที่อยู่ในจุดเหล่านี้โดยการระบายอากาศออกไป ก่อนที่อากาศจะผสมกับไอน้ำและเครื่อนตัวผ่านระบบ เพื่อสร้างชั้นฟิล์มอากาศที่พื้นผิวของการถ่ายเทความร้อนต่อไป และด้วยเหตุนี้ การระยายอากาศก็ต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อฟิล์มก่อตัวกันขึ้นมาบนพื้นผิวของการถ่ายเทความร้อนแล้วก็เป็นเรื่องยากที่จะจำกัดฟิล์มเหล่านั้นออกไป วิธีนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กับแก๊สที่ไม่ควบแน่นอื่นๆ ที่เข้ามาในระบบได้เช่นเดียกัน
แก๊สที่ไม่ควบแน่นเหล่านี้ก็จะสามารถก่อตัวขึ้นเป็นฟิล์มเหมือนกัน เมื่อไอน้ำถ่ายเทความร้อนแฝงออกจากตัวมันเองแล้วก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเกิดฟิล์มจากการควบแน่น (Condensate Film) ได้ การออกแบบอุปกรณ์ที่ดีจะทำให้เกิดฟิล์มนี้ในปริมาณที่น้อยที่สุดและให้แน่ใจว่าพื้นผิวไม่มีส่วนใดเกาะอยู่ และจากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การกำจัดการควบแน่นผ่านกับดักไอน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการอั้นตัวของน้ำได้เป็นอย่างดี ปัญหาที่เกิดเพิ่มขึ้นก็คือหม้อไอน้ำส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตขึ้นสำหรับใช้กับไอน้ำแห้ง แต่จะผสมกันระหว่างไอน้ำกับน้ำ อัตราส่วนของไอน้ำต่อน้ำเรียกว่าสัดส่วนความแห้ง (Dryness Fraction) โดยปกติสัดส่วนความแห้งจะมีอยู่ประมาณ 95% เมื่อมีการผสมระหว่างไอน้ำและน้ำ ถ้าน้ำที่ผสมอยู่ในส่วนนี้สามารถผ่านเข้าไปในอุปกรณ์ได้ ทำให้เกิดการสะสมอยู่บนพื้นผิวของการถ่ายเทความร้อน ฟิล์มจะหนาขึ้นและอัตราการถ่ายเทความร้อนก็จะลดลง ดังนั้น ควรกำจัดปริมาณน้ำส่วนนี้ออกไปก่อนที่ไอน้ำจะเข้าในสู่ระบบการจ่าย หรือก่อนที่ไอน้ำจะถูกส่งไปตามกระบวนการผลิตที่ต้องการใช้ไอน้ำ หรืออีกกรณีหนึ่งก็นำเอาเครื่องแยกไอน้ำ (Steam Separators) หรือเครื่องอบแห้ง (Driers) มาใช