Blog Archives

วิธีป้องกันสนิมในท่อ steam

ถาม วิธีป้องกันสนิมในท่อ steam ตอบ • เพิ่ม อุณหภูมิน้ำ Feed tank ให้ได้อย่างน้อย 80-85°C หรือติดตั้ง Deaerator 105°C เพื่อลดออกซิเจน ควบคุมค่า TDS และปริมาณเกลือแร่ในน้ำให้ลดน้อยลงโดยการนำ Condensate กลับมาใช้ให้มากที่สุด • หมั่นตรวจสอบ Steam Trap ในท่อ Steam ไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังโดยใช้ Infrared Thermometer ตรวจสอบอุณหภูมิผิวท่อขาเข้า Steam Trap เช่น หากเดินท่อไอน้ำ 7 barg 170°C อุณหภูมิผิวท่ออาจอยู่ที่ 140°C ขึ้นไป

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ใช้ Plate Heat ไม่คงที่

ถาม อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ใช้ Plate Heat ไม่คงที่ เวลาใช้งานระหว่างเครื่องจักร 1 ตัว กับใช้พร้อมกันทั้งโรงงาน ตอบ เข้าใจว่าคำถามคงจะเป็นว่าใช้ Plate Heat ทำน้ำร้อนจ่ายเข้าไปในเครื่องจักรหลายๆ เครื่อง หากเดิน 1 ตัวอุณหภูมิจะไม่คงที่ ถ้าเดินหลายๆ ตัวอุณหภูมิของน้ำร้อนจะคงที่ดีขึ้น หากเป็นเช่นนี้แสดงว่าในช่วงเดินเครื่องเพียง 1 load น้อย ทำให้ความดันของไอน้ำใน Plate ไม่เพียงพอที่จะระบายคอนเดนเสท ทำให้น้ำขังใน Plate อันเป็นสาเหตุของการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่คงที่ สามารถแก้ได้โดยการใช้ระบบ Pumping Trap สาเหตุของมันก็คือการออกแบบ load ที่ใช้งาน หากมีการใช้ load น้อยๆความดันใน Plate

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler, อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

สตีมแทรป Trap น้ำไม่ทัน เกิดปัญหาความร้อนไม่คงที่

ถาม สตีมแทรป Trap น้ำไม่ทัน เกิดปัญหาความร้อนไม่คงที่ ตอบ การ ใช้ Group trapping เช่นการใช้ Trap เพียง 1-2 ตัว ติดตั้งอาจก่อให้เกิดปัญหา Steam lock และหากใช้ Trap ที่ไม่มีความสามารถในการระบายอากาศก็ยิ่งทำให้อุณหภูมิในแต่ละชั้นร้อนไม่ ทั่วถึงกัน สามารถแก้ไขโดยติด Steam trap ในแต่ละชิ้นโดยการใช้ Trap ½” ชนิด Thermodynamic ที่มี Air vent ในตัว (Anti Air Binding Disc) ก็จะสามารถระบายอากาศที่ตกค้างและป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง ลักษณะดังกล่าวจะทำให้การระบาย

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler, อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

การเลือกระบบบอยเลอร์

การเลือกระบบบอยเลอร์ (Boiler System Selection) ข้อแรกที่ต้องตัดสินใจคือ  การเลือกว่าจะใช้ระบบหม้อไอน้ำหรือระบบน้ำร้อนต้องชัดเจน ขั้นตอนต่อไปก็คือประเมินขนาดของระบบโดยรวม  และลักษณะการเปลี่ยนแปลงภาระงานมีอย่างไรบ้าง  ในทางอุดมคติกรณีที่ภาระงานคงที่และมีจำนวนมาก  จำเป็นต้องใช้หม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่  แต่ถ้าภาระงานมีพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทุกชั่วโมง  ทุกวันหรือทุกฤดูกาลและต้องการให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ก็ต้องติดตั้งหม้อไอน้ำขนาดเล็กหลาย ๆ ลูก ขั้นตอนที่ 3 เป็นการระบุให้ชัดเจนว่าหม้อไอน้ำลูกใดเหมาะสมจะทำหน้าที่อะไร  แผนภูมิการทำงานในรูปที่ 41 และ 42 แสดงให้เห็นแนวทางสำหรับการเลือกหม้อไอน้ำไม่ว่าจะเป็นหม้อไอน้ำหรือหม้อน้ำร้อนก็ตาม  โดยมีพื้นฐานปริมาณการผลิตและเงื่อนไขที่ต้องการ  ในแต่ละระดับของปริมาณการผลิตสามารถเลือกได้จากหม้อไอน้ำที่มีให้เลือกหลายชนิด  จากที่กล่าวมาแล้วในตารางที่ 6 ได้แสดงให้เห็นถึงหม้อไอน้ำชนิดใดให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงที่สุด หม้อไอน้ำที่มีขนาดเล็กควรเลือกใช้เชื้อเพลิงเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ  แก๊สและน้ำมัน  เพื่อให้ราคาเหมาะสม  อย่างไรก็ตามอาจเผื่อทางเลือกไว้สำหรับหม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่ให้สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลายชนิด  ในกรณีนี้จำเป็นต้องหาข้อมูลในเรื่องค่าใช้จ่ายการลงทุน  การดำเนินการและการบำรุงรักษาจากผู้ผลิต  หรือบางทีอาจจะเป็นผู้ที่ใช้หม้อไอน้ำอยู่เดิม เมื่อมีการเลือกหม้อไอน้ำใหม่  หรือต้องการหาหม้อไอน้ำใหม่มาทดแทนที่มีอยู่เดิม  จำเป็นต้องพิจารณาแผนงานการติดตั้งหม้อไอน้ำแบบพลังงานความร้อนร่วม (Combined

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

ตัวกลางส่งถ่ายความร้อน

ตัวกลางที่ใช้ในการส่งถ่ายความร้อน ทำไมต้องเลือกไอน้ำ  เหตุผลที่อธิบายได้ง่ายที่สุดก็คือ  การใช้ไอน้ำเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการแลกเปลี่ยนความร้อนจากเชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วในหม้อไอน้ำไปยังจุดที่อยู่ในกระบวนการที่ต้องการความร้อน  อีกทางเลือกหนึ่งคือ  ใช้น้ำหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อพาความร้อนไป  โดยแต่ละวิธีก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การเลือกใช้น้ำร้อนในการพาความร้อนเป็นวิธีที่ไม่ดีนัก  เนื่องจากน้ำสามารถพาความร้อนได้เพียง 419 กิโลจูล ต่อน้ำหนักน้ำ 1 กิโลกรัมที่ความดันบรรยากาศ  ใช้อุณหภูมิน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส  และทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส  แต่ในทางปฏิบัติพบว่าผลต่างของความร้อนนั้น  อุณหภูมิจะต่ำลงเพียง 10-20 องศาเซลเซียส  ดังนั้นจึงมีเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่น้ำสามารถเป็นตัวกลางพาความร้อนไปใช้ได้จริง  ถ้าความดันอยู่ที่ 10 บาร์ (bar) ความจุความร้อนโดยรวมของน้ำเพิ่มขึ้นถึง 782 กิโลจูล/กิโลกรัม  ในความเป็นจริงจะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำได้จากข้อจำกัดนี้  การใช้น้ำเป็นตัวกลางพาความร้อนเพื่อให้ทำงานได้ความร้อนตามความต้องการ  จะต้องใช้ปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากและต้องถูกสูบหมุนเวียนในระบบ  ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเนื่องจากการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นอย่างมาก  ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการปฏิบัติงานของระบบจะสูงมากเช่นกัน ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

บทนำเรื่องไอน้ำ 2/2

แนวทางการปฏิบัติประกอบด้วย 3 ส่วน           ส่วน A  จะเกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ ของการออกแบบระบบไอน้ำและน้ำร้อน  ส่วนนี้ให้ความสำคัญในการตรวจสอบเกี่ยวกับไอน้ำและน้ำร้อนซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายความร้อน (Heat Transport Media)  และประสิทธิภาพทั้งระบบการจ่ายไอน้ำและการนำน้ำควบแน่นกลับมาใช้ใหม่  ระบบน้ำร้อน  รวมทั้งความสำคัญของการเตรียมน้ำป้อนอย่างถูกต้อง  ตลอดจนมีการหุ้มฉนวนภายนอกอย่างเหมาะสม  และเน้นความสำคัญของการตรวจสอบและติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง           ส่วน B  เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หม้อไอน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาไหม้  การตรวจสอบประเภทของหม้อต้มน้ำหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  และการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของการใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิด  รวมทั้งคำนึงถึงประเภทของหัวเผา-หัวพ่นไฟ  และระบบการเผาไหม้  เน้นความสำคัญของการควบคุมมลพิษ  ตอนสุดท้านของส่วน B จะเป็นแนวทางสำหรับการเลือกระบบหม้อไอน้ำ           ส่วน C  ตรวจสอบศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำ  เพื่อให้แน่ใจในศักยภาพของเครื่องอีโคโนไมเซอร์  การอุ่นอากาศสำหรับเผาไหม้  การปรับความเร็วรอบขงพัดลมและระบบ  การควบคุมระบบให้ทำงานร่วมกัน  ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานเล่มนี้  ได้สรุปขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในหม้อไอน้ำและการปฏิบัติงานในระบบด้วย           การเรียงลำดับของเนื้อหาได้มาจากข้อมูลที่เคยมีการเผยแพร่  สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญที่เน้นในเรื่องของการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำ 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

บทนำเรื่องไอน้ำ 1/2

บทนำเรื่องไอน้ำ การผลิตไอน้ำหรือน้ำร้อนจากหม้อต้มน้ำไปใช้งานนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่ใช้กันอยู่ และเป็นความพยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิตไอน้ำหรือน้ำร้อนจะเป็นการพัฒนาหม้อต้มน้ำที่มีอยู่เดิม  สิ่งแรกที่พัฒนาคือเรื่องของการควบคุม  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ประสบความสำเร็จ  อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาเชิ้อเพลิงจากฟอสซิล (Fossil Fuels) และการออกกฎหมายเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse Gases) โดยการออกแบบและควบคุมการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำและระบบต่าง ๆ ของหม้อไอน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสหราชอาณาจักรมีหม้อต้มน้ำอย่างน้อยที่สุด 50,000 ลูก  ซึ่งหม้อต้มน้ำทุกชนิดและในจำนวนที่กล่าวถึงติดตั้งอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ  หม้อต้มน้ำหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหม้อต้มน้ำที่ใช้น้ำมันหรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิง  จะมีโดยปกติ 1 ใน 3 ของหม้อต้มน้ำเหล่านี้มีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี  และจำเป็นต้องหาหม้อต้มน้ำใหม่มาทดแทนภายใน 2-3 ปีข้างหน้า  แนวโน้มสำหรับการติดตั้งหม้อต้มน้ำใหม่จะเป็นไอน้ำที่ใช้แก๊สธรรมชาติหรือใช้แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) ร่วมกับถ่านหินจะมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น  โดยทั่วไปจะใช้กับหม้อต้มน้ำที่มีขนาดใหญ่ หม้อต้มน้ำส่วนใหญ่ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควร  ตราบใดที่หม้อต้มน้ำนั้นยังผลิตน้ำร้อนและไอน้ำได้อย่างปลอดภัย  ตั้งแต่อดีตถึงปีพ.ศ.

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

ความรู้เกี่ยวกับถ่านหิน

ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ ๔ อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี 1. ประเภทของถ่านหิน ถ่านหินสามารถแยกประเภทตามลำดับชั้นได้เป็น ๕ ประเภท คือ พีต (Peat) เป็นขั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน ประกอบด้วยซากพืชซึ่งบางส่วนได้สลายตัวไปแล้วสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ลิกไนต์ (Lignite) มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ซับบิทูมินัส (Subbituminous) มีสีดำ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้า บิทูมินัส (Bituminous)

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in เชื้อเพลิง boiler

การถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำ (Heat Transfer from Steam)

การก่อตัวของฟิล์ม (Film) ที่เกิดขึ้น ณ ด้านใดด้านหนึ่งของพื้นผิวการถ่ายเทความร้อนจะมีกระทบต่อประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนจากไอน้ำไปสู่กระบวนการต่างๆ ในกระบวนการผลิต ตะกรันที่เกิดจากการเกาะตัวติดกันของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ โดยที่ภายใต้ตะกรันก็จะมีชั้นของน้ำที่หยุดนิ่ง (Stagnant Layer) เมื่อเกิดความร้อน  การถ่ายเทความร้อนผ่านชั้นต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้โดยการนำความร้อน (Conduction)  ซึ่งจะไม่มีประสิทธิภาพมากนักเมื่อเทียบกับการถ่ายเทความร้อนด้วยการพาความร้อน (Convection)  ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการหมุนเวียนภายในของเหลวที่มีจำนวนมาก  ยิ่งไปกว่านั้นฟิล์มที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ด้านทำให้ประสิทธิภาพในการนำความร้อนลดลงกว่าการใช้พื้นผิวของโลหะในการถ่ายเทความร้อนในสภาวะอุดมคติฟิล์มเหล่านี้จะบางจนไม่มีความสำคัญมากนัก  แต่ในสถานการณ์จริง (The Real World) ฟิล์มเหล่านี้จะเป็นตัวจำกัดอัตราของการถ่ายเทความร้อน โดยทั่วไป การทำความสะอาดพื้นผิวของโลหะเป็นประจำจะช่วยควบคุมการเกิดตะกรันได้  สำหรับชั้นของน้ำหรือของเหลวที่หยุดนี่งนี้สามารถทำให้ลดลงได้  บ่อยครั้งที่ใช้เครื่องที่ทำให้เกิดการกวนหรือสั่นโดยอัตโนมัติเพื่อปัญหานี้จะทำให้เวลาในการทำความร้อนเร็วขี้นมาก ในส่วนของไอน้ำก็จะมีฟิล์ม 3 ชนิด คือ ชั้นของฟิล์มที่เกิดการควบแน่น (Condensate Film Layer) อยู่ต่อจากชั้นของฟิล์มที่เกิดจากตะกรันบนผิวโลหะ (Scale Film Layer) 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบงานท่อ boiler, ระบบหม้อไอน้ำ boiler

การระบายอากาศ (Air Venting)

การระบายอากาศที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบไอน้ำทั้งหมด  เพื่อให้แน่ใจว่ามีการถ่ายเทความร้อนได้อย่างเหมาะสม  อากาศหรือแก๊สที่มีอยู่หรือที่เกิดขึ้นก็เพราะเกิดสูญญากาศบางส่วนขึ้นในท่อและในอุปกรณ์ระหว่างที่มีการหยุดเครื่อง  ดังนั้นการติดตั้งตัวระบายอากาศควรมีขนาดที่เหมาะสมและทำให้แน่ใจได้ว่าอากาศที่ถูกกักไว้ถูกกำจัดออกไปอย่างรวดเร็ว  และบ่อยครั้งที่อากาศหรือแก๊สที่เกิดขึ้นนี่เองเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาระกว่างการเริ่มเดินเครื่อง  ซึ่งการติดตั้งตัวระบายอากาศที่มีความไวต่ออุณหภูมิ (Tmperature-Sensitive Air Vents) จะช่วยกำจัดอากาศและแก๊สเหล่านั้นออกไปได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้อุ่นเครื่องได้เร็วขึ้นและจะปิดลงก็ต่อเมื่อมีไอน้ำผ่านออกไป ตัวระบายอากาศจะเปิดออกเพื่อปล่อยให้อากาศและแก๊สออกไปอย่างเต็มที่ในช่วงระหว่างการเริ่มเดินเครื่อง  และในช่วงเดินเครื่องตัวระบายอากาศจะเปิดออกก็ต่อเมื่อมีอากาศหรือแก๊สสะสมเท่านั้น  ตัวระบายอากาศโดยอัตโนมัติเช่นนี้  จะได้รับความนิยมมากกว่าตัวระบายอากาศที่เป็นระบบใช้มือปิด-เปิด  ซึ่งมีข้อเสียคือ  อาจหลงลืมการปิด-เปิดใช้  หรือปิด-เปิดไช้บางส่วนขณะเครื่องทำงาน ตัวระบายอากาศควรติดตั้งไว้ในที่ที่มีปริมาณอากาศสะสมไว้มากที่สุด  โดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งบนสุดของท่อไอน้ำและท่อไอน้ำควบแน่น

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบงานท่อ boiler, ระบบหม้อไอน้ำ boiler, อุปกรณ์ไอน้ำ boiler