Blog Archives

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Steam Meters

ถาม เนื่องจากทางโรงงานไม่เคยทราบปริมาณการใช้ไอน้ำมาก่อนเลยจึงอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Steam Meters ตอบ Steam Meter เป็นตัววัดปริมาณไอน้ำที่ใช้เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขหากมี ความผิดปกติ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของการปรับปรุงประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ และประสิทธิภาพในขบวนการผลิตและเป็นที่ยอมรับกันว่าหลังจากมีการวัดการใช้ไอ น้ำแล้ว สามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงทำให้ประหยัดพลังงานได้ระหว่าง 5-25%

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

ปัญหา Safety Valve รั่ว-ซึม โดยมีไอน้ำออกมาตลอด สาเหตุเพราะอะไร และมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

ถาม ปัญหา Safety Valve รั่ว-ซึม โดยมีไอน้ำออกมาตลอด สาเหตุเพราะอะไร และมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ตอบ อาจเกิดจากสาเหตุ 1. มี การกัดกร่อน หรือของแข็งไปติดที่ลิ้นวาล์วเป็นเวลานาน เนื่องจากความสกปรกของไอน้ำ หากเกิดหินปูนมากๆ แสดงว่าจะต้องทำการควบคุม TDS ของบอยเลอร์ให้เหมาะสมเสียก่อน 2. น้ำในบอยเลอร์มีค่า Cloride สูง เมื่อเกิด Carry over และ/หรือ Priming ของบอยเลอร์ คอนเดนเสทเหล่านั้นจะไปสะสมที่บ่าวาล์วได้ 3. ดู ลักษณะการติดตั้ง Safety Valve ว่าท่อขาออกมีลักษณะการติดตั้งที่ก่อให้เกิดการสะสมย้อนกลับของน้ำคอนเดนเสท หรือไม่ เมื่อไอน้ำที่ Blow กลั่นตัวหรือคอนเดนเสทที่ติดมากับไอน้ำเปียก

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

ปัญหา Carry Over เกิดจากสาเหตุ คือ

ถาม ปัญหา Carry Over เกิดจากสาเหตุ คือ ตอบ 1. ค่า TDS พยายามรักษาระดับ TDS ใน Boiler ไม่เกิน 3,000-3,500 ppm โดยใช้เครื่อง Conductivity Meter ในการวัด ซึ่งควรจะอ่านค่าได้ประมาณ 6,000-7,000 µs/cm หรือใช้ระบบ Automatic Blowdown 2. Peak Load หรือการจ่ายไอน้ำอย่างกระทันหัน Steam จะดูดน้ำตามไป ดังนั้นควรติด Separator พร้อม Steam Trap ชนิดลูกลอยดักที่ท่อ Main

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

Boiler มักจะจุดไม่ติดอยู่บ่อยๆ ถ้าอากาศหนาว และแรงดันสตีมที่เครื่อง Mixer มีค่าสูงกว่าที่ต้องการทั้งที่ใช้รีดิวซิ่งวาล์วปรับก่อนเข้าเครื่องแล้ว

ถาม Boiler มักจะจุดไม่ติดอยู่บ่อยๆ ถ้าอากาศหนาว และแรงดันสตีมที่เครื่อง Mixer มีค่าสูงกว่าที่ต้องการทั้งที่ใช้รีดิวซิ่งวาล์วปรับก่อนเข้าเครื่องแล้ว กล่าวคือ แรงดันสตีมที่ท่อเมนอยู่ที่ 7 bar และใช้รีดิวซิ่งวาล์วปรับลดลงอยู่ที่ 2 bar ก่อนเข้าเครื่อง แต่แรงดันที่เครื่อง Mixer ที่อ่านได้อยู่ที่ 4 bar ตอบ หากเป็นชนิด Pilot Operate Reducing Valve ตรวจสอบ Reducing Valve รอยรั่ว Pilot Valve, Main Valve และ Orifice เริ่มตันหรือไม่ พร้อมกันนั้นควรศึกษาคู่มือการใช้งานของ Reducing Valve

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

วิธีป้องกันสนิมในท่อ steam

ถาม วิธีป้องกันสนิมในท่อ steam ตอบ • เพิ่ม อุณหภูมิน้ำ Feed tank ให้ได้อย่างน้อย 80-85°C หรือติดตั้ง Deaerator 105°C เพื่อลดออกซิเจน ควบคุมค่า TDS และปริมาณเกลือแร่ในน้ำให้ลดน้อยลงโดยการนำ Condensate กลับมาใช้ให้มากที่สุด • หมั่นตรวจสอบ Steam Trap ในท่อ Steam ไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังโดยใช้ Infrared Thermometer ตรวจสอบอุณหภูมิผิวท่อขาเข้า Steam Trap เช่น หากเดินท่อไอน้ำ 7 barg 170°C อุณหภูมิผิวท่ออาจอยู่ที่ 140°C ขึ้นไป

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ใช้ Plate Heat ไม่คงที่

ถาม อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ใช้ Plate Heat ไม่คงที่ เวลาใช้งานระหว่างเครื่องจักร 1 ตัว กับใช้พร้อมกันทั้งโรงงาน ตอบ เข้าใจว่าคำถามคงจะเป็นว่าใช้ Plate Heat ทำน้ำร้อนจ่ายเข้าไปในเครื่องจักรหลายๆ เครื่อง หากเดิน 1 ตัวอุณหภูมิจะไม่คงที่ ถ้าเดินหลายๆ ตัวอุณหภูมิของน้ำร้อนจะคงที่ดีขึ้น หากเป็นเช่นนี้แสดงว่าในช่วงเดินเครื่องเพียง 1 load น้อย ทำให้ความดันของไอน้ำใน Plate ไม่เพียงพอที่จะระบายคอนเดนเสท ทำให้น้ำขังใน Plate อันเป็นสาเหตุของการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่คงที่ สามารถแก้ได้โดยการใช้ระบบ Pumping Trap สาเหตุของมันก็คือการออกแบบ load ที่ใช้งาน หากมีการใช้ load น้อยๆความดันใน Plate

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler, อุปกรณ์ไอน้ำ boiler

การเลือกระบบบอยเลอร์

การเลือกระบบบอยเลอร์ (Boiler System Selection) ข้อแรกที่ต้องตัดสินใจคือ  การเลือกว่าจะใช้ระบบหม้อไอน้ำหรือระบบน้ำร้อนต้องชัดเจน ขั้นตอนต่อไปก็คือประเมินขนาดของระบบโดยรวม  และลักษณะการเปลี่ยนแปลงภาระงานมีอย่างไรบ้าง  ในทางอุดมคติกรณีที่ภาระงานคงที่และมีจำนวนมาก  จำเป็นต้องใช้หม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่  แต่ถ้าภาระงานมีพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทุกชั่วโมง  ทุกวันหรือทุกฤดูกาลและต้องการให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ก็ต้องติดตั้งหม้อไอน้ำขนาดเล็กหลาย ๆ ลูก ขั้นตอนที่ 3 เป็นการระบุให้ชัดเจนว่าหม้อไอน้ำลูกใดเหมาะสมจะทำหน้าที่อะไร  แผนภูมิการทำงานในรูปที่ 41 และ 42 แสดงให้เห็นแนวทางสำหรับการเลือกหม้อไอน้ำไม่ว่าจะเป็นหม้อไอน้ำหรือหม้อน้ำร้อนก็ตาม  โดยมีพื้นฐานปริมาณการผลิตและเงื่อนไขที่ต้องการ  ในแต่ละระดับของปริมาณการผลิตสามารถเลือกได้จากหม้อไอน้ำที่มีให้เลือกหลายชนิด  จากที่กล่าวมาแล้วในตารางที่ 6 ได้แสดงให้เห็นถึงหม้อไอน้ำชนิดใดให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงที่สุด หม้อไอน้ำที่มีขนาดเล็กควรเลือกใช้เชื้อเพลิงเพียง 2 ชนิดเท่านั้นคือ  แก๊สและน้ำมัน  เพื่อให้ราคาเหมาะสม  อย่างไรก็ตามอาจเผื่อทางเลือกไว้สำหรับหม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่ให้สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลายชนิด  ในกรณีนี้จำเป็นต้องหาข้อมูลในเรื่องค่าใช้จ่ายการลงทุน  การดำเนินการและการบำรุงรักษาจากผู้ผลิต  หรือบางทีอาจจะเป็นผู้ที่ใช้หม้อไอน้ำอยู่เดิม เมื่อมีการเลือกหม้อไอน้ำใหม่  หรือต้องการหาหม้อไอน้ำใหม่มาทดแทนที่มีอยู่เดิม  จำเป็นต้องพิจารณาแผนงานการติดตั้งหม้อไอน้ำแบบพลังงานความร้อนร่วม (Combined

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

ตัวกลางส่งถ่ายความร้อน

ตัวกลางที่ใช้ในการส่งถ่ายความร้อน ทำไมต้องเลือกไอน้ำ  เหตุผลที่อธิบายได้ง่ายที่สุดก็คือ  การใช้ไอน้ำเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการแลกเปลี่ยนความร้อนจากเชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วในหม้อไอน้ำไปยังจุดที่อยู่ในกระบวนการที่ต้องการความร้อน  อีกทางเลือกหนึ่งคือ  ใช้น้ำหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อพาความร้อนไป  โดยแต่ละวิธีก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การเลือกใช้น้ำร้อนในการพาความร้อนเป็นวิธีที่ไม่ดีนัก  เนื่องจากน้ำสามารถพาความร้อนได้เพียง 419 กิโลจูล ต่อน้ำหนักน้ำ 1 กิโลกรัมที่ความดันบรรยากาศ  ใช้อุณหภูมิน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส  และทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส  แต่ในทางปฏิบัติพบว่าผลต่างของความร้อนนั้น  อุณหภูมิจะต่ำลงเพียง 10-20 องศาเซลเซียส  ดังนั้นจึงมีเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่น้ำสามารถเป็นตัวกลางพาความร้อนไปใช้ได้จริง  ถ้าความดันอยู่ที่ 10 บาร์ (bar) ความจุความร้อนโดยรวมของน้ำเพิ่มขึ้นถึง 782 กิโลจูล/กิโลกรัม  ในความเป็นจริงจะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำได้จากข้อจำกัดนี้  การใช้น้ำเป็นตัวกลางพาความร้อนเพื่อให้ทำงานได้ความร้อนตามความต้องการ  จะต้องใช้ปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากและต้องถูกสูบหมุนเวียนในระบบ  ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเนื่องจากการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นอย่างมาก  ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการปฏิบัติงานของระบบจะสูงมากเช่นกัน ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water tube boiler)

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ(Water tube boiler) จะพบเห็นในกรณีที่ไม่สามารถออกแบบเป็นแบบท่อไฟได้ พวกขนาด 100 -300 ตัน หรือแรงดัน 20 บาร์ขึ้นไป ช่วงการใช้งานส่วนมากอุณหภูมิไม่เกิน 220 องศาเซลเซียส เพราะแรงดันจะสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เปิดดู Steam table ประกอบความเข้าใจ การแบ่งประเภทของหม้อไอน้ำ การออกแบบหม้อไอน้ำจึงมีอยู่หลายแบบตามความเหมาะสมของการนำไปใช้งาน ดังนี้ แบ่งตามลักษณะการวางแนวแกนของเปลือกหม้อไอน้ำ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน แบ่งตามตำแหน่งเตา แบ่งตามน้ำหรือแก๊สร้อนที่อยู่ในท่อ หม้อไอน้ำที่สร้างขึ้นมาพิเศษ

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ประเภทของหม้อไอน้ำ boiler

บทนำเรื่องไอน้ำ 2/2

แนวทางการปฏิบัติประกอบด้วย 3 ส่วน           ส่วน A  จะเกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ ของการออกแบบระบบไอน้ำและน้ำร้อน  ส่วนนี้ให้ความสำคัญในการตรวจสอบเกี่ยวกับไอน้ำและน้ำร้อนซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายความร้อน (Heat Transport Media)  และประสิทธิภาพทั้งระบบการจ่ายไอน้ำและการนำน้ำควบแน่นกลับมาใช้ใหม่  ระบบน้ำร้อน  รวมทั้งความสำคัญของการเตรียมน้ำป้อนอย่างถูกต้อง  ตลอดจนมีการหุ้มฉนวนภายนอกอย่างเหมาะสม  และเน้นความสำคัญของการตรวจสอบและติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง           ส่วน B  เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หม้อไอน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาไหม้  การตรวจสอบประเภทของหม้อต้มน้ำหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  และการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของการใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิด  รวมทั้งคำนึงถึงประเภทของหัวเผา-หัวพ่นไฟ  และระบบการเผาไหม้  เน้นความสำคัญของการควบคุมมลพิษ  ตอนสุดท้านของส่วน B จะเป็นแนวทางสำหรับการเลือกระบบหม้อไอน้ำ           ส่วน C  ตรวจสอบศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำ  เพื่อให้แน่ใจในศักยภาพของเครื่องอีโคโนไมเซอร์  การอุ่นอากาศสำหรับเผาไหม้  การปรับความเร็วรอบขงพัดลมและระบบ  การควบคุมระบบให้ทำงานร่วมกัน  ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานเล่มนี้  ได้สรุปขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในหม้อไอน้ำและการปฏิบัติงานในระบบด้วย           การเรียงลำดับของเนื้อหาได้มาจากข้อมูลที่เคยมีการเผยแพร่  สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญที่เน้นในเรื่องของการปฏิบัติงานของหม้อไอน้ำ 

Tagged with: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
Posted in ระบบหม้อไอน้ำ boiler